การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
เมื่อเรามองดูดวงจันทร์บนฟ้า นอกจากจะเห็นกระต่าย
แล้วรู้ว่าดวงจันทร์หันด้านที่เป็นรูปกระต่ายเข้าหาโลกเสมอแล้ว
สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือรูปร่างของดวงจันทร์ที่บางครั้งก็เป็นเสี้ยวผอมบาง
บางครั้งก็อ้วนกลม เปลี่ยนไปทุกวัน เรียกว่า เกิดข้างขึ้น-ข้างแรม รูปร่างการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ช่วงข้างขึ้น
และช่วงข้างแรมก็ต่างกันน่าสังเกต วันข้างขึ้น-ข้างแรมจะสัมพันธ์กับรูปร่าง
และเวลาขึ้น-ตกของดวงจันทร์
เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมตามแปนภาพเราต้องจินตนาการว่า
เราอยู่ในอวกาศนอกโลก ไกลออกไปทางขั้วโลกเหนือ มองดูโลก เห็นดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ภาพดวงจันทร์ใน คือธรรมชาติที่แท้จริงของดวงจันทร์
เพราะดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ดวงจันทร์จึงมีส่วนสว่างครึ่งดวงคือด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์
ขณะดวงจันทร์โคจรรอบโลก ส่วนที่โดนแสงอาทิตย์หันเข้าหาโลกเปลี่ยนไปเมื่อมองจากโลกจึงเห็นรูปร่างของดวงจันทร์เปลี่ยนไป
รูปร่างของดวงจันทร์วงนอก
คือรูปร่างของดวงจันทร์ที่มองจากโลกสัมพันธ์กับตำแหน่งของดวงจันทร์วงใน
สุริยุปราคา
สุริยุปราคา
เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก
และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์
และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก
สุริยุปราคาหรือ เรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส
หมายถึง
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์
จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก
ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด
เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน
เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน
เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน” สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน (
แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )
ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคา
มีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์
ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ
จะบินกลับรัง
ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น
และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลกวิธีดู
เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้
ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3
แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป
หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด
จันทรุปราคา
จันทรุปราคา
จันทรุปาคา เป็นปรากฏการณ์
ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ (
ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์
ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า
จันทคราส
คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น
15 ค่ำ)
เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ
เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก
จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง
จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง
เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์
ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน
จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม
ผลกระทบ
การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน
แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์”
ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น
ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา
เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้
เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”
ฤดูกาล
ฤดูกาล (อังกฤษ: Season)
เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา
จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน
ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู
ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป
ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้
• วสันตฤดู หรือฤดูใบไม้ผลิ: 21 มีนาคม - 20
มิถุนายน
• คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน: 21 มิถุนายน - 21
กันยายน
• สารทฤดู หรือฤดูใบไม้ร่วง: 22 กันยายน - 21
ธันวาคม
• เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว : 22 ธันวาคม - 20
มีนาคม
ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน
ฤดูหนาว (รวมกันเรียกว่า "ฤดูแล้ง") และฤดูฝน
สาเหตุในการเกิดฤดูกาล
ฤดูกาลเกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของแกนโลกที่เอียงทำมุมประมาณ
23.5 องศากับระนาบการหมุนของโลก ส่งผลให้ระยะเวลาในช่วงกลางวันและกลางคืน
รวมถึงการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของปี
นั่นคือในช่วงที่ซีกโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือเนื่องจากได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากที่สุดและมีกลางวันที่ยาวนานที่สุด
ทางซีกโลกใต้จะห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด
นั่นคือเป็นฤดูหนาวของซีกโลกใต้ซึ่งมีกลางวันที่สั้นที่สุด
เทคโนโลยีอวกาศ
เทคโนโลยีอวกาศ
การออกไปนอกโลกและความหมายของอวกาศ จรวด
ดาวเทียม ยานอวกาศ สถานีอวกาศอวกาศ คือที่ว่างนอกโลก นอกดวงดาว
ดังนั้นจึงมีอวกาศระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ระหว่างดาวฤกษ์และระหว่างเมืองของดาวฤกษ์
จรวด
จรวด
เป็นเครื่องยนต์พลังสูงที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร
รอบโลก ได้ ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ
การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน
ดาวเทียม
ดาวเทียม
หมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก
แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร
ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือสปุตนิค 1
ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งขึ้นไปเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500
และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์ 1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31
มกราคม พ.ศ. 2501 ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น
ดาวเทียมที่ ใช้ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ
ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฆ ตลอดลมฟ้าอากาศ เรียกว่า
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์
ที่ใช้สำรวจศึกษาดวงดาวอีกมากมาย
ยานอวกาศ
ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก
โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์
สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป
แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2
พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุมยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่
ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน
ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน
ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ 3 คน ยานอวกาศอะพอลโล 11
เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.
2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ
รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อน
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น
เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร
ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ
สถานีอวกาศ
สถานีอวกาศ
หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก
เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา
โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซียการออกไปนอกโลก
ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91
กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง 38,880
กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24
ชั่วโมง เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก
ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง
ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารภายในและระหว่างประเทศ
โดยดาวเทียมของประเทศใดประเทศหนึ่ง มักอยู่สูงในระดับประมาณ 36,000
กิโลเมตรเหนือประเทศนั้น ๆ ดาวเทียมสื่อสารจึงเป็นดาวเทียมค้างฟ้า
ที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา นับว่าสะดวกต่อการรับสัญญาณจากดาวเทียมเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันมีดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศของบริษัทอินเทลแซท
ซึ่งส่งดาวเทียมอิสเทลแซทขึ้นไปอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดียดวงหนึ่ง
เหนือมหาสมุทรแปซิฟิคดวงหนึ่งและเหนือมหาสมุทรแอตแลนติคอีกดวงหนึ่ง
ทำให้สามารถสื่อสารติดต่อระหว่างประเทศได้ทั่วโลกตลอดเวลา 24
ชั่วโมงดาวเทียมสำรวจพิภพ
สถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมดาวเทียมสำรวจพิภพเป็นดาวเทียมที่เคลื่อนรอบโลกอยู่ในระดับต่ำประมาณ
500 กิโลเมตร และมีความสามารถในการแยกภาพสูง ดาวเทียมสำรวจพิภพ
สำรวจทรัพยากรของโลก เช่น ป่าไมทรัพยากรธรณี ทรัพยากรในทะเล
และเนื่องจากเป็นดาวเทียมที่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่ใช่ดาวเทียมค้างฟ้า
แต่จะเปลี่ยนตำแหน่งโดเขยื้อนไปทางทิศตะวันตกของเส้นทางเดิม
และกลับมาผ่านเส้นทางเดิมในเวลาหลายวัน เช่น ดาวเทียม อีอาร์เอส
ของญี่ปุ่นสัญญาณจากดาวเทียมขณะผ่านประเทศไทยเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยโดยตรง
ดังนั้นเราจึงมีสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมตั้งอยู่ที่
ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โทร.
3269151-2หลายประเทศมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศของตนเอง เช่นดาวเทียมไทยคมเป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทยซึ่งออกแบบโดยบริษัทฮิวจ์แอร์คราฟท์
สหรัฐอเมริกา
ส่งขึ้นสู่อวกาศโดยอาศัยจรวดอารีอานขององค์การอวกาศยุโรปที่เฟรนกิอานา
ดาวเทียมไทยคมจึงขึ้นไปอยู่เหนือละจิจูด 7องศาเหนือและลองจิจูด 78.5
องศาตะวันออกประโยชน์ของดาวเทียมไทยคมคือช่วยการสื่อสารภายในประเทศในเรื่องโทรศัพท์
การถ่ายทอดโทรทัศน์ โทรสาร โทรพิมพ์ โดยไม่ต้องเช่าดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย
สถานีภาคพื้นดินส่งสัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมอยู่ที่ ถนนรัตนาธิเบศร์ อ.เมือง
จ.นนทบุรี